1. รถยนต์ใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทุกคัน ต้องมีถุงลมนิรภัยหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเลือกซื้อรถยนต์ที่ไม่ติดตั้งถุงลมนิรภัยตั้งแต่ปี 1998 กฎหมายกำหนดให้รถยนต์นั่งทุกคันที่จำหน่ายในอเมริกาต้องมีถุงลมนิรภัยด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และมีผลต่อรถบรรทุกเล็กทุกคันในปี 1999
2. ตามที่ NHTSA กำหนดให้มีการติดตั้งถุงลมนิรภัยแบบลดความแรง (Depowered Airbag) ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จะสามารถเปลี่ยนถุงลมนิรภัยที่ใช้อยู่ในรุ่นปัจจุบัน เป็นถุงลมนิรภัยชนิดใหม่ได้หรือไม่มาตรฐานใหม่นี้ เพื่อลดความรุนแรงในการพองตัวลง 25-30%จากปัจจุบัน และจะบังคับใช้กับรถยนต์ที่ผลิตออกมาใหม่ ไม่ครอบคลุมถึงรถยนต์ที่ผลิตออกไปแล้ว
3. สามารถติดตั้ง เบาะสำหรับเด็ก แบบหันหน้าไปท้ายรถยนต์ ในที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้าได้หรือไม่ไม่โดยเด็ดขาด เว้นแต่จะมีสวิตช์ตัดการทำงานของถุงลมนิรภัยด้านผู้โดยสารโดยเฉพาะ และได้ตัดการทำงานไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำว่า ที่นั่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 12 ปีลงมา คือ เบาะหลัง
4. ถ้าเช่นนั้น เบาะสำหรับเด็กที่ติดตั้งแบบธรรมดา จะสามารถติดตั้งในเบาะผู้โดยสารด้านหน้าได้หรือไม่NHTSA แนะนำว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีทุกคน ควรโดยสารในเบาะด้านหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าไม่มีทางเลือก และต้องการนำมานั่งในเบาะด้านหน้าจริง ๆ ต้องจัดให้เด็กนั่งโดยมีอุปกรณ์นิรภัยคาดไว้กับลำตัวอย่างถูกต้อง และเลื่อนเบาะไปด้านหลังเพื่อให้เด็กอยู่ห่างจากถุงลมนิรภัยให้มากที่สุด
5. ในกรณีเด็กโตที่ไม่จำเป็นต้องใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กแล้ว จะให้เด็กนั่งในเบาะด้านหน้าของรถยนต์ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยได้หรือไม่ จะมีอันตรายหรือเปล่าถ้าถุงลมนิรภัยทำงานขึ้นมาอย่างที่บอกไปแล้วว่า เด็กควรโดยสารในเบาะหลัง เว้นแต่กรณีที่จำเป็นต้องให้นั่งด้านหน้าจริง ๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น และขอเพิ่มเติมว่า เด็กต้องนั่งพิงพนักพิงอยู่เสมอ ระวังอย่าให้เด็กโน้มตัวมาด้านหน้าบ่อย ๆ และระวังไม่ให้เข็มขัดนิรภัยหย่อนจนเกินไป ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีว่า บางครั้งยากที่จะควบคุมเด็กให้อยู่นิ่งได้
6. NHTSA ใช้เกณฑ์อะไรที่กำหนดว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีควรจะนั่งในเบาะหลัง และจะพิจารณาจากความสูงหรือน้ำหนักตัวของเด็กได้หรือไม่สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านผู้โดยสาร NHTSA พิจารณาจากอุบัติเหตุการเสียชีวิตที่เกิดจากเด็กถูกกระแทกโดยถุงลมนิรภัย จากหลักฐานจริง ๆ แล้วพบว่า ไม่มีเด็กอายุเกินกว่า 9 ปีเสียชีวิตจากกรณีนี้ ส่วนการจะกำหนดโดยส่วนสูงหรือน้ำหนักตัวนั้นคงไม่สามารถจะทำได้ เพราะรถยนต์แต่ละรุ่นจะมีความรุนแรงในการทำงานของถุงลมนิรภัยต่างกันออกไป จึงยากที่จะสรุปเป็นมาตรฐานเดียวกัน
7. สำหรับผู้ขับขี่ที่มีรูปร่างเตี้ย และจำเป็นต้องนั่งใกล้พวงมาลัย จะมีวิธีการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากถุงลมนิรภัยได้อย่างไร
ก่อนอื่นต้องย้ำว่า ผู้ขับที่ได้รับการปกป้องจากถุงลมนิรภัยมีสัดส่วนสูงกว่าผู้ที่เสียชีวิตจากถุงลมนิรภัยมากนัก และที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่ใส่เข็มขัดนิรภัยผู้ขับ และผู้โดยสารที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และนั่งให้ห่างจากพวงมาลัยมากที่สุดเท่าที่ยังสามารถควบคุมรถยนต์ได้โดยสะดวก ในกรณีที่ผู้ขับมีรูปร่างเตี้ยก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน อาจจะใช้การเอนพนักพิงเบาะไปด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเพิ่มระยะห่างจากหน้าอกถึงพวงมาลัย นอกจากนั้น แขนที่ควบคุมพวงมาลัยจะอยู่ด้านข้างของพวงมาลัยทั้ง 2 ด้าน ไม่ใช่พาดขวางอยู่ระหว่างคนขับกับพวงมาลัย เพื่อให้ถุงลมนิรภัยมีพื้นที่ และระยะในการพองตัวมากที่สุด และหลีกเลี่ยงโอกาสที่แขนจะได้รับบาดเจ็บรุนแรง
8. ผู้ที่มีส่วนสูง และน้ำหนักเท่าไร ที่จัดว่าเสี่ยงต่ออันตรายจากถุงลมนิรภัยไม่มีการระบุชัดเจนในประเด็นนี้ ขอให้พึงระวังไว้ว่า ปัจจัยสำคัญที่จะชี้ถึงอัตราเสี่ยงจากถุงลมนิรภัยที่พองตัวอย่างรวดเร็ว คือ ระยะห่างระหว่างตัวคุณกับถุงลมนิรภัยนั่นเอง
9. ถ้าอย่างนั้น ระยะห่างขนาดไหนที่เข้าข่ายว่าค่อนข้างปลอดภัยไม่มีระยะที่แน่นอน เพราะถุงลมนิรภัยในรถยนต์แต่ละรุ่นมีความรุนแรงในการพองตัวต่างกัน ยิ่งห่างโดยยังควบคุมรถยนต์ได้ด้วยดีก็ยิ่งปลอดภัย (มีการชี้แจงภายหลังว่า อย่างน้อย ระยะห่างจากผู้ขับถึงพวงมาลัยต้องมากกว่า 10 นิ้วขึ้นไป)
10. สำหรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่จะปลอดภัยหรือไม่ หากจะนั่งในเบาะด้านหน้าซึ่งติดตั้งถุงลมนิรภัยด้วยปลอดภัยแน่นอน แค่ต้องไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ เลื่อนเบาะไปด้านหลังมาก ๆ อาจเอนพนักพิงเบาะไปด้านหลังเล็กน้อย ระวังอย่าให้สายเข็มขัดนิรภัยหย่อน
11. แล้วสำหรับคนแก่ จะเป็นอันตรายหรือไม่ถ้านั่งในเบาะด้านหน้าซึ่งติดตั้งถุงลมนิรภัยในกรณีผู้สูงอายุก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อที่แล้ว
12. ผู้ที่ตั้งครรภ์ จะปลอดภัยหรือไม่ที่จะต้องนั่งอยู่หน้าถุงลมนิรภัยในขณะนี้ NHTSA กำลังรวบรวมผลการพองตัวของถุงลมนิรภัยต่อผู้ตั้งครรภ์อยู่ จนถึงปัจจุบันนี้ ยังแนะนำผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่เสมอ ให้สายรัดไหล่พาดผ่านกระดูกไหปลาร้า สายรัดเอวพาดใต้หน้าท้องให้ต่ำที่สุดผ่านบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้าง ไม่ควรพาดบนหน้าท้องโดยเด็ดขาด และให้นั่งห่างจากถุงลมนิรภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
13. เข็มขัดนิรภัย แบบ Pretensioner และ Tensioner คืออะไร และจะช่วยปกป้องในกรณีเกิดอุบัติเหตุได้ดีเพียงใดเข็มขัดนิรภัยทั้ง 2 แบบจะดึงรั้งตัวมาด้านหลังโดยอัตโนมัติเวลาที่เกิดการชนกันขึ้น มีการติดตั้งในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ และเมื่อใดที่เข็มขัดนิรภัยชนิดนี้ทำงานขึ้นมา ต้องถอดเปลี่ยนใหม่
14. ในรถยนต์ที่มีพวงมาลัยชนิดที่ปรับความสูงต่ำได้ ควรปรับเปลี่ยนไว้ที่ตำแหน่งใดที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด และคนขับเสี่ยงต่อการบาดเจ็บน้อยที่สุดควรจะตั้งให้ต่ำลง เพื่อให้ถุงลมนิรภัยพุ่งมาที่หน้าอกขณะที่พองตัว ไม่ใช่พุ่งเข้าใส่ศรีษะ และใบหน้า แต่สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ต้องระวังอย่าให้ต่ำเกินไป ไม่นั้นจะพุ่งมากระแทกท้องได้
15. แล้วพวงมาลัยที่ปรับให้ชิดหรือห่างตัวได้ควรปรับอย่างไรปรับให้ระยะพอเหมาะในการขับ โดยห่างจากตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น