หาก มีเหตุจำเป็นที่เราจะต้องจอดรถไว้ไม่ว่าที่ใดก็ตามย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่จะ ถูกขโมยได้เสมอ และเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น เป็นเรื่องยากที่จะติดตามกลับคืนมาได้ เนื่องมาจากกำลังของเจ้าหน้าที่มีน้อย และไม่รู้เส้นทางการหลบหนี แจ้งความแล้วไม่รู้เมื่อไหร่จะได้คืน ดังนั้นจึงมีอีกวิธีซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล 100 % ในการป้องกันรถหาย คือ
หาก รู้ว่าจะต้องจอดนานๆ ในที่ที่เสี่ยงภัยจากขโมย ขโจร ให้ท่านหาซื้อโทรศัทพ์มือถือราคาถูกๆ แต่ใช้งานได้ดี และมี Battery ดี (ย้ำว่าต้องดีจริงๆ) ซิมการ์ดระบบใดก็ได้ เปิดเครื่องและซ่อนไว้ในรถในจุดที่ลับตาที่สุด ในจุดที่คิดว่าคนร้ายจะไม่เห็น จากนั้น
เปิดเครื่อง ปิดเสียง > ปิดสั่นทิ้งไว้ในรถเมื่อท่านต้องจอดในบริเวณที่มีความเสี่ยง และล็อครถของท่านตามปกติ
และกรณีเกิดรถหาย ให้แจ้งที่ 191 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประสานงานกับผู้ให้บริการเครือข่ายของหมายเลขโทรศัพท์ที่ท่านซ่อนไว้ในรถ
เพื่อ ค้นหาตำแหน่งของรถท่านเพื่อการติดตามจับกุมได้อย่างรวดเร็ว เพราะโดยส่วนใหญ่ รถที่หายจะยังอยู่บนถนน หากที่ใดมีคลื่นโทรศัพท์ ก็จะสามารถระบุตำแหน่งได้ทันทีแน่นอน 100% ทุกวันนี้ซิมการ์ดระบบเติมเงิน บางระบบเติมเท่าใด
ก็ใช้ได้เป็นปี ราคาไม่กี่ร้อย บวกค่าโทรศัพท์ที่ท่านหาซื้อได้ในราคาแค่พันต้นๆ ผมว่าถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดแล้วครับ
แต่ก็อย่าลืมดูแบตเตอรี่โทรศัพท์ของคุณด้วยบ่ะครับ
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552
- การดูแลรถยนต์หลังติดแก๊ส -
การดูแลรถยนต์หลังจากติดแก๊ส
มาดูกันครับว่าเราจะดูแลรถแสนรักของเราอย่างไรให้อายุการใช้งานยืนยาวไปตราบเท่าที่เขาจะอยู่กับเราครับ
ติดแก๊สแล้วจะต้องดูแลอะไรบ้าง
การติดตั้งแก๊สรถยนต์ย่อมมีผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างแน่นอน เนื่องจาก แก๊สนั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้กับรถยนต์ดังนั้นจึงควรมีการดูแลที่ใกล้ชิดพอสมควร
1.ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของก๊าซ ตามข้อต่อ และจุดต่างๆ ทุกเดือน โดยใช้ฟองสบู่ หรือเครื่องตรวจวัดการรั่วของก๊าซ
2. ตรวจเช็คและทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 5,000 กิโลเมตรซึ่งบ่อยกว่าการตรวจเช็คเมื่อใช้น้ำมันเบนซินเพียงอย่างเดียว (ปกติ 10,000 กิโลเมตร)
3. ตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับเติมก๊าซ ถังก๊าซตรวจ น็อตที่ยึดถังก๊าซทุกเดือน
4. ควรตรวจเช็ค และตั้งบ่าวาล์วไอเสียทุกระยะ 40,000 - 60,000 กม. เพราะบ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV และ LPG จะมีโอกาสสึกหรอเร็วกว่า
การใช้น้ำมันเบนซิล จึงควรที่จะใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ก๊าซ เพื่อให้น้ำมันเบนซินไปเคลือบบ่าวาล์วบ้างเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น
5. ห้ามดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานก๊าซที่ได้รับการติดตั้งจากศูนย์ที่ได้มาตรฐานหากมี ปัญหาให้รีบติดต่อศูนย์บริการที่ติดตั้งมาทันที
6. ห้ามเติมก๊าซเกินแรงดันที่กำหนดไว้ของถัง จะทำให้ถังเสื่อมคุณภาพเร็ว และอาจระเบิดได้
7. เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ควรใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนและหลังการใช้
8. หากเกิดการรั่วไหลของก๊าซ ให้รีบหยุดรถ และดับเครื่องยนต์โดยทันที รีบปิดวาล์วที่ถังก๊าซ และห้ามทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดประกายไฟ ตรวจดูว่าหากไม่มีการรั่วไหล
เพิ่ม ให้เปลี่ยนระบบมาใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องแล้วรีบนำรถเข้าไปยังศูนย์บริการที่ติดตั้งโดยทันที
9. หากเกิดไฟไหม้ที่ตัวรถให้รีบดับเครื่องยนต์ปิดวาล์วที่ถังก๊าซโดยทันที ถ้าทำได้ และออกห่างจากตัวรถ หรือพยายามดับไฟที่แหล่งกำเนิด
10. เพื่อรักษาประสิทธิภาพ และคุณภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมัน ควรมีน้ำ มัน ติดถังไว้อย่างน้อย 1 ส่วน 4 ถังเสมอๆ และเพื่อป้องกัน
ระบบปั๊มน้ำมันเสีย
1000 โล ต้อง เช็ครั่ว เเละระบบกล่อง ecu
5000 โล เช็ครั่ว จุดหลวมสั่นคลอนการคลายตัวของจุดยึด เเละ ECU ล้างกรองก๊าซเช็คการสวิทช์ระหว่างนํามันกับก๊าซ
10000 โล เช็ครั่ว จุดหลวมสั่นคลอน การคลายตัวของจุดยึด เปลี่ยนกรองก๊าซ การสวิทช์ระหว่างนํามันกับก๊าซ เเละ ECU
20000 โล เช็ครั่ว จุดหลวมสั่นคลอน การคลายตัวของจุดยึด เปลี่ยนกรองก๊าซ การสวิทช์ระหว่างนํามันกับก๊าซ เเละ ECU
5000 โล เช็ครั่ว จุดหลวมสั่นคลอนการคลายตัวของจุดยึด เเละ ECU ล้างกรองก๊าซเช็คการสวิทช์ระหว่างนํามันกับก๊าซ
10000 โล เช็ครั่ว จุดหลวมสั่นคลอน การคลายตัวของจุดยึด เปลี่ยนกรองก๊าซ การสวิทช์ระหว่างนํามันกับก๊าซ เเละ ECU
20000 โล เช็ครั่ว จุดหลวมสั่นคลอน การคลายตัวของจุดยึด เปลี่ยนกรองก๊าซ การสวิทช์ระหว่างนํามันกับก๊าซ เเละ ECU
วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552
กำหนดการจัดงาน The 30th Bangkok International Motor show
แวะเอากำหนดการเดินดูพริตตี้ที่งาน Motor Show มาฝากครับ รายละเอียดตามนี้เลยครับ
กำหนดการจัดงาน The 30th Bangkok International Motor show
- วัน VIP วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552
- วันสื่อมวลชน Press day วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552
- วันแสดงงาน Open to Cublic วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม ถึง วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2552
เวลาเปิดแสดง
- วันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) 12.00-22.00 น.
- วันหยุดนักขัตฤกษ์ / วันเสาร์ วันอาทิตย์ 11.00-22.00 น.
* สถานที่จัดงาน ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา
ที่มา : http://www.grandprixgroup.com/motorshow/2009/default.asp
กำหนดการจัดงาน The 30th Bangkok International Motor show
- วัน VIP วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552
- วันสื่อมวลชน Press day วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552
- วันแสดงงาน Open to Cublic วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม ถึง วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2552
เวลาเปิดแสดง
- วันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) 12.00-22.00 น.
- วันหยุดนักขัตฤกษ์ / วันเสาร์ วันอาทิตย์ 11.00-22.00 น.
* สถานที่จัดงาน ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา
ที่มา : http://www.grandprixgroup.com/motorshow/2009/default.asp
Honda S2000 Ultimate Edition ทิ้งทวนก่อนปิดไลน์ผลิต
| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ |
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
หลายๆคน คงสงสัยกันว่า 4 รู 100 กะ 4 รู 114 มันคืออะไร
คงเคยได้ยินกันมาบ้างกะคำว่า 4 รู 100
มันก็คือรายละเอียดของ ล้อแม็ค รถยนต์นั่นแหละครับเพราะ ล้อแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ มันไม่เท่ากัน
หรืออย่างรถญี่ปุ่น กับ รถยุโรป มันก็จะไม่ตรงกันน่ะครับ
เรามาทำความรู้จักและให่เข้าใจยิ่งขึ้นกันนะครับ
พี ซี ดี PCD คืออะไร?
พี ซี ดี PCD คืออะไร?
ร ะ ย ะ พี.ซี.ดี (P. C. D)
P.C.D. ย่อมาจาก PITCH CIRCLE DIAMETER หมายถึง ระยะห่างของรูน๊อตบนตัว ล้อแม็กซ์ โดยวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตทุกตัวลากเส้นเป็นวงกลม แล้ววัดผ่าน เส้นผ่าศูนย์กลาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าเป็นจำนวนเลขคู่ 4 หรือ 6 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ ก็สามารถวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้ามได้เลย แต่ถ้าเป็นจำนวนเลขคี่ 3 หรือ 5 รูน๊อต ต้องวัดจากแนววงกลมกึ่งกลางรูน๊อตผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง
รถยนต์ขนาดเล็กมักมี 4 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ และรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นไปมักมี 5 - 6 รูน๊อต เพื่อความแน่นหนาในการยึดล้อเข้ากับดุมล้อ มีหลายคน มักสงสัยว่าทำไมรูน๊อตที่ใช้ยึด ล้อแม็ก เข้ากับดุมล้อ ถึงได้มีค่า PCD แตกต่างกันออกไป
ในอดีตที่ผ่านมาก็มีผู้ผลิตรถยนต์ หลายค่ายทั้งเอเชีย, ยุโรป หรือ อเมริกา เองก็ดี ได้ทำการคิดค้นและออกแบบแตกต่างกันออกไป ตามแต่ความคิดอ่าน ของแต่ละค่าย ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตกาล เขาใช้หน่วยเป็นนิ้ว แต่ต่อมา ในบางประเทศที่คุ้นเคยกับระบบเมตริก ก็มักใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตรแทน จึงมีการเรียกแตกต่างกันไป แต่จริงแล้ว ค่าของ PCD ก็มีที่มาจากที่เดียวกันนั่นเอง
ล้อ 4 รู / 8 รู
การวัดสามารถวัดโดย วัดที่หน้าแปลนของ ดุมล้อ ด้านหลัง โดยทาบไม้บรรทัด จากจุด (A) ไปถึงจุด (B) ดูระยะว่าเป็นเท่าไร เช่น อ่านค่าได้เท่ากับ 100 มม. นั่นก็คือระยะ PCD ของ ล้อแม็กซ์ วงนั้น นั่นเอง
ล้อ 5 รู / 10 รู การวัดสำหรับ ล้อแม็ก ที่มี 5 รู หรือ 10 รู นั้น ต้องมีการคำนวนเล็กน้อย
(A) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูดุมล้อ Center Bore
(B) คือระยะระจากขอบรู ดุมล้อ กับขอบรูยึดน๊อต
(C) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูยึดน๊อต
สูตรการคิด ระยะ PCD = ( A หาร 2 ) + B + ( C หาร 2 )
ตัวอย่าง
A = 110, B = 58.5 และ C = 13
( 55 ) + (58.5) + ( 6.5 )
รวมแล้ว = 120 ดังนั้นตัวเลขที่ได้ก็คือ ค่า PCD นั่นเอง * หรืออาจใช้สูตร A+(2B)+C แทนก็ได้
ล้อ 6 รู การ วัดสำหรับ ล้อแม็ก 6 รู จะคล้ายกับ 4 รู โดยวัดในแนวเส้นตรงจากขอบด้านในของรูยึดน๊อต ตรงมายังขอบด้านนอกของรูยึดน๊อตฝังตรงข้าม ผ่านรู ดุมล้อ ทำการวัดจากจุด (A) มายังจุด (B) อ่านค่าได้เท่าไร ก็คือ ค่า PCD นั้นเอง ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ PCD ของรถท่านได้ที่นี่
ร ะ ย ะ พี.ซี.ดี (P. C. D)
P.C.D. ย่อมาจาก PITCH CIRCLE DIAMETER หมายถึง ระยะห่างของรูน๊อตบนตัว ล้อแม็กซ์ โดยวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตทุกตัวลากเส้นเป็นวงกลม แล้ววัดผ่าน เส้นผ่าศูนย์กลาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าเป็นจำนวนเลขคู่ 4 หรือ 6 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ ก็สามารถวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้ามได้เลย แต่ถ้าเป็นจำนวนเลขคี่ 3 หรือ 5 รูน๊อต ต้องวัดจากแนววงกลมกึ่งกลางรูน๊อตผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง
รถยนต์ขนาดเล็กมักมี 4 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ และรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นไปมักมี 5 - 6 รูน๊อต เพื่อความแน่นหนาในการยึดล้อเข้ากับดุมล้อ มีหลายคน มักสงสัยว่าทำไมรูน๊อตที่ใช้ยึด ล้อแม็ก เข้ากับดุมล้อ ถึงได้มีค่า PCD แตกต่างกันออกไป
ในอดีตที่ผ่านมาก็มีผู้ผลิตรถยนต์ หลายค่ายทั้งเอเชีย, ยุโรป หรือ อเมริกา เองก็ดี ได้ทำการคิดค้นและออกแบบแตกต่างกันออกไป ตามแต่ความคิดอ่าน ของแต่ละค่าย ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตกาล เขาใช้หน่วยเป็นนิ้ว แต่ต่อมา ในบางประเทศที่คุ้นเคยกับระบบเมตริก ก็มักใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตรแทน จึงมีการเรียกแตกต่างกันไป แต่จริงแล้ว ค่าของ PCD ก็มีที่มาจากที่เดียวกันนั่นเอง
ตารางเทียบระยะของรู PCD
Millimeters ( มิลลิเมตร ) | Inches ( นิ้ว ) |
4 x 100 | 4 x 4.0 |
4 x 107.95 ( 108 ) | 4 x 4.25 |
4 x 110 | 4 x 4.33 |
4 x 114.3 | 4 x 4.50 |
4 x 130 | 4 x 5.12 |
5 x 100 | 5 x 4.0 |
5 x 107.95 ( 108 ) | 5 x 4.25 |
5 x 114.3 | 5 x 4.50 |
5 x 112 | 5 x 4.40 |
5 x 120 | 5 x 4.72 |
5 x 139.7 | 5 x 5.50 |
6 x 139.7 | 6 x 5.50 |
การวัดระยะ PCD ด้วยตนเอง
หากเราต้องการทราบว่า ล้อแม็ก ของเรานั้น มีระยะ PCD เท่าไร ? เราสามารถวัดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ ก่อนอื่นก็ต้องมี อุปกรณ์ ที่ต้องใช้วัด เช่น ไม้บรรทัด หรือ ตลับเมตร ก็ได้เช่นกันล้อ 4 รู / 8 รู
การวัดสามารถวัดโดย วัดที่หน้าแปลนของ ดุมล้อ ด้านหลัง โดยทาบไม้บรรทัด จากจุด (A) ไปถึงจุด (B) ดูระยะว่าเป็นเท่าไร เช่น อ่านค่าได้เท่ากับ 100 มม. นั่นก็คือระยะ PCD ของ ล้อแม็กซ์ วงนั้น นั่นเอง
ล้อ 5 รู / 10 รู การวัดสำหรับ ล้อแม็ก ที่มี 5 รู หรือ 10 รู นั้น ต้องมีการคำนวนเล็กน้อย
(A) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูดุมล้อ Center Bore
(B) คือระยะระจากขอบรู ดุมล้อ กับขอบรูยึดน๊อต
(C) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูยึดน๊อต
สูตรการคิด ระยะ PCD = ( A หาร 2 ) + B + ( C หาร 2 )
ตัวอย่าง
A = 110, B = 58.5 และ C = 13
( 55 ) + (58.5) + ( 6.5 )
รวมแล้ว = 120 ดังนั้นตัวเลขที่ได้ก็คือ ค่า PCD นั่นเอง * หรืออาจใช้สูตร A+(2B)+C แทนก็ได้
ล้อ 6 รู การ วัดสำหรับ ล้อแม็ก 6 รู จะคล้ายกับ 4 รู โดยวัดในแนวเส้นตรงจากขอบด้านในของรูยึดน๊อต ตรงมายังขอบด้านนอกของรูยึดน๊อตฝังตรงข้าม ผ่านรู ดุมล้อ ทำการวัดจากจุด (A) มายังจุด (B) อ่านค่าได้เท่าไร ก็คือ ค่า PCD นั้นเอง ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ PCD ของรถท่านได้ที่นี่
เครดิต คุณ SpooN BoY OSK118! From : Hondajazz-club.com
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
เหมาะสำหรับเจ้าของ...รถป้ายแดง
ใช้รถยนต์ป้ายแดงอย่างถูกวิธี...
รถยนต์ใหม่ป้ายแดง แม้ใหม่แกะกล่องจากโชว์รูม แต่ถ้าขาดการดูแลรักษาและใช้งานไม่ถูกต้อง อายุการใช้งานอาจสั้นกว่าปกติ และตามติดด้วยหลากปัญหารบกวนใจก่อนเวลาอันควร
การศึกษาทำความเข้าใจการใช้รถยนต์ใหม่ป้ายแดง จึงมีความจำเป็นสำหรับเจ้าของรถหรือผู้ขับ
1. รันอินยืดอายุการใช้งาน
เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอน้อยที่สุด และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้ยาวนาน
ใน ช่วง 5,000 กิโลเมตรแรก ควรขับด้วยความระมัดระวัง โดยใช้รอบเครื่องยนต์ใน แต่ละเกียร์ไม่เกิน 2,500 -3,000 รอบ/นาที ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน เช่นต้องการเร่งแซงขึ้นหน้า หรือหลบหลีกอย่างรวดเร็ว ก็อนุโลมได้
ส่วน รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หากเหยียบคันเร่งธรรมดาไม่มีการกระแทกอย่างรวดเร็ว ระบบจะเปลี่ยนเกียร์ขึ้นสูงที่รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500-3,000 รอบ/นาที นอกจากการคิกดาวน์ เพื่อลดตำแหน่งเกียร์ด้วยการเหยียบคันเร่งจนสุดอาจจะมีการสั่งเปลี่ยนเกียร์ ที่รอบเครื่องยนต์สูงขึ้น จากปกติเล็กน้อย
หลีกเลี่ยงการเหยียบคัน เร่งหลังการสตาร์ท หรือเบิลเครื่องยนต์เพื่อให้ถึงอุณหภูมิทำงาน นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไรแล้ว ยังสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิใช่เหตุ หากต้องการให้เครื่องยนต์ถึงอุณหภูมิทำงานเร็วๆ ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาอยู่กับที่ ประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้น้ำมันต่างๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ เคลือบชิ้นส่วนการทำงาน แล้วจึงค่อยๆ ออกตัวและขับช้าๆ จนกระทั้งถึงอุณหภูมิทำงาน
ผ้าเบรกก็ควรมีการรันอิน ไม่ควรเบรกกะทันหันหรือรุนแรงในช่วง 200-300 กิโลเมตรแรก
หลีกเลี่ยงการใช้ความเร็วไม่สัมพันธ์กับเกียร์ เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ต้องรับภาระหนัก และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
การ ออกตัวควรทำอย่างนุ่มนวล เพราะนอกจากจะช่วยยืดอายุของเครื่องยนต์แล้ว ในส่วนของรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า ยังยืดอายุของการเพลาขับอีกด้วย
การ รันอินเครื่องยนต์ไม่มีระยะทางกำหนดตายตัว โดยจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อเครื่องยนต์ ไม่กินน้ำมันเครื่อง (โดยส่วนใหญ่ไม่เกิน 10,000-15,000 กิโลเมตร)
2. กลิ่นใหม่ : อันตรายใกล้ตัว
กลิ่น ใหม่ที่ติดอยู่ในห้องโดยสารเป็นอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม กลิ่นเหล่านี้มาจากพลาสติก และกาวที่ใช้ในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ภายในห้องโดยสาร
เคยมีการสำรวจพบว่า ไอพิษที่มาจากพลาสติกและกาวเหล่านี้ทำให้เกิดอาการตาอักเสบ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและคลื่นไส้ ซึ่งไอพิษจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเมื่อถูกความร้อน เช่น การจอดรถยนต์ตากแดด
วิธีกำจัดกลิ่นใหม่ที่แฝงด้วยไอพิษคือ การใช้ผ้าชุบน้ำผสมสบู่อ่อนๆ เช็ดทุกส่วนในห้องโดยสาร เช่นแผงประตู ,เบาะที่ผลิตจากหนังเทียม ,พวงมาลัย ,แผงหน้าปัด ก่อนใช้ผ้าชุบน้ำเปล่าทำความสะอาดอีกครั้ง
นอกจากนั้น ควรจอดรถยนต์เปิดกระจกและประตูทุกบานเพื่อให้มีการระบายอากาศ และกำจัดกลิ่นเหล่านี้ให้หมดไป
3. ตรวจสภาพตามอายุการใช้งาน
รถ ยนต์ใหม่ป้ายแดงต้องมีการรับประกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร ควรเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสภาพตามระยะทางที่กำหนด เช่น 1,000 กิโลเมตร 5,000 กิโลเมตร หรือ 10,000 กิโลเมตร และควรปฏิบัติตามข้อกำหนดของการรับประกันจนกว่าจะครบระยะ
ควรศึกษาคู่มือประจำรถยนต์ให้ละเอียด เพื่อทราบถึงการดูแลรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงข้อมูลและรายละเอียดของรถยนต์คันนั้น
รถยนต์ใหม่ป้ายแดง แม้ใหม่แกะกล่องจากโชว์รูม แต่ถ้าขาดการดูแลรักษาและใช้งานไม่ถูกต้อง อายุการใช้งานอาจสั้นกว่าปกติ และตามติดด้วยหลากปัญหารบกวนใจก่อนเวลาอันควร
การศึกษาทำความเข้าใจการใช้รถยนต์ใหม่ป้ายแดง จึงมีความจำเป็นสำหรับเจ้าของรถหรือผู้ขับ
1. รันอินยืดอายุการใช้งาน
เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอน้อยที่สุด และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้ยาวนาน
ใน ช่วง 5,000 กิโลเมตรแรก ควรขับด้วยความระมัดระวัง โดยใช้รอบเครื่องยนต์ใน แต่ละเกียร์ไม่เกิน 2,500 -3,000 รอบ/นาที ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน เช่นต้องการเร่งแซงขึ้นหน้า หรือหลบหลีกอย่างรวดเร็ว ก็อนุโลมได้
ส่วน รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หากเหยียบคันเร่งธรรมดาไม่มีการกระแทกอย่างรวดเร็ว ระบบจะเปลี่ยนเกียร์ขึ้นสูงที่รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500-3,000 รอบ/นาที นอกจากการคิกดาวน์ เพื่อลดตำแหน่งเกียร์ด้วยการเหยียบคันเร่งจนสุดอาจจะมีการสั่งเปลี่ยนเกียร์ ที่รอบเครื่องยนต์สูงขึ้น จากปกติเล็กน้อย
หลีกเลี่ยงการเหยียบคัน เร่งหลังการสตาร์ท หรือเบิลเครื่องยนต์เพื่อให้ถึงอุณหภูมิทำงาน นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไรแล้ว ยังสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิใช่เหตุ หากต้องการให้เครื่องยนต์ถึงอุณหภูมิทำงานเร็วๆ ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาอยู่กับที่ ประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้น้ำมันต่างๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ เคลือบชิ้นส่วนการทำงาน แล้วจึงค่อยๆ ออกตัวและขับช้าๆ จนกระทั้งถึงอุณหภูมิทำงาน
ผ้าเบรกก็ควรมีการรันอิน ไม่ควรเบรกกะทันหันหรือรุนแรงในช่วง 200-300 กิโลเมตรแรก
หลีกเลี่ยงการใช้ความเร็วไม่สัมพันธ์กับเกียร์ เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ต้องรับภาระหนัก และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
การ ออกตัวควรทำอย่างนุ่มนวล เพราะนอกจากจะช่วยยืดอายุของเครื่องยนต์แล้ว ในส่วนของรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า ยังยืดอายุของการเพลาขับอีกด้วย
การ รันอินเครื่องยนต์ไม่มีระยะทางกำหนดตายตัว โดยจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อเครื่องยนต์ ไม่กินน้ำมันเครื่อง (โดยส่วนใหญ่ไม่เกิน 10,000-15,000 กิโลเมตร)
2. กลิ่นใหม่ : อันตรายใกล้ตัว
กลิ่น ใหม่ที่ติดอยู่ในห้องโดยสารเป็นอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม กลิ่นเหล่านี้มาจากพลาสติก และกาวที่ใช้ในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ภายในห้องโดยสาร
เคยมีการสำรวจพบว่า ไอพิษที่มาจากพลาสติกและกาวเหล่านี้ทำให้เกิดอาการตาอักเสบ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและคลื่นไส้ ซึ่งไอพิษจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเมื่อถูกความร้อน เช่น การจอดรถยนต์ตากแดด
วิธีกำจัดกลิ่นใหม่ที่แฝงด้วยไอพิษคือ การใช้ผ้าชุบน้ำผสมสบู่อ่อนๆ เช็ดทุกส่วนในห้องโดยสาร เช่นแผงประตู ,เบาะที่ผลิตจากหนังเทียม ,พวงมาลัย ,แผงหน้าปัด ก่อนใช้ผ้าชุบน้ำเปล่าทำความสะอาดอีกครั้ง
นอกจากนั้น ควรจอดรถยนต์เปิดกระจกและประตูทุกบานเพื่อให้มีการระบายอากาศ และกำจัดกลิ่นเหล่านี้ให้หมดไป
3. ตรวจสภาพตามอายุการใช้งาน
รถ ยนต์ใหม่ป้ายแดงต้องมีการรับประกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร ควรเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสภาพตามระยะทางที่กำหนด เช่น 1,000 กิโลเมตร 5,000 กิโลเมตร หรือ 10,000 กิโลเมตร และควรปฏิบัติตามข้อกำหนดของการรับประกันจนกว่าจะครบระยะ
ควรศึกษาคู่มือประจำรถยนต์ให้ละเอียด เพื่อทราบถึงการดูแลรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงข้อมูลและรายละเอียดของรถยนต์คันนั้น
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
เรียนรู้เทคนิคขับรถเอาตัวรอดยามฉุกเฉิน
- ขับรถลุยฝน…ยิ่งเร็วยิ่งเสี่ยง…เบรกพรวดมีปัญหา
- เป็นคนไทยอยู่เมืองไทย คงจะหนีฤดูฝนอันยาวนานไม่ได้ เชื่อว่าน้อยคนนักที่ชอบการขับขี่รถท่ามกลางสายฝน เพราะนอกจากทัศนะวิสัยจะไม่ดีแล้ว โอกาสเกิดอุบัติเหตุยังสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณตั้งมั่นอยู่ในความประมาท
- หลีกเลี่ยงไม่ได้ยามฝนตกหรือหลังฝนหยุดตกใหม่ ๆ ที่จะมีการขังของน้ำตามจุดต่าง ๆ บนผิวถนน อุบัติเหตุบนท้องถนนหลายครั้งเกิดจากน้ำขัง การวิ่งด้วยความเร็วสูงผ่านแอ่งน้ำ จะทำให้เกิดอาการล้อแฉลบหรือเรียกว่าการเหิรน้ำ ซึ่งจะทำให้รถสูญเสียการทรงตัว ทางเดียวในการแก้ไขก็คือ อย่าตกใจ และต้องไม่กระแทกเบรกลงไปอย่างรุนแรง โดยให้ทำการควบคุมรถให้อยู่ในเส้นทางให้ได้มากที่สุด แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกัน โดยไม่ขับรถเร็วผ่านแอ่งน้ำที่ขังอยู่
- การใช้เบรกก็เช่นกัน หากรถคุณไม่มีระบบเบรกเอบีเอส ไม่ควรขับขี่แบบที่ต้องมีการเบรกกระทันหัน หรือหากจำเป็นควรเบรกแบบกดปล่อยกดปล่อย ซึ่งแน่นอนระยะทางในการเบรกต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นนอน แต่รถคุณก็จะไม่ไกลจนสูญเสียการทรงตัว และถ้าใครรู้สึกว่าหลังลุยฝนแล้วเบรกลื่น ๆ ก็ให้ย้ำเบรกบ่อย ๆ เพื่อให้ผ้าเบรกร้อนหรือแห้ง
- รถดับกลางน้ำท่วม…ทำยังไงดี
- กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับเมืองไทย ที่ฝนตกแล้วต้องน้ำท่วม บางครั้งเราต้องขับรถลุยน้ำก้นครึ่งค่อนล้อ รถสวนน้ำกระเฉาะเข้าห้องเครื่อง แล้วจู่ ๆ เครื่องก็ดับเอาดื้อ ๆ งานนี้จะไปต่อต้องเปียกอย่างเดียวเลยครับ
- เหตุที่รถดับเอาดื้อ ๆ ก็เพราะน้ำเข้าไปในเครื่อง จานจ่ายก็เปียกจนหยุดทำงาน ทางเดียวที่สามารถทำได้เมื่อเครื่องดับก็คือ เข็นรถหลบไปในที่แห้ง ๆ ข้างทาง ใช้ผ้าแห้งซับที่คอยล์ และจานจ่ายให้แห้ง ให้มั่นใจนะครับว่าแห้งดีแล้ว ลองสตาร์ทดูใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าไม่ติดก็คงต้องพึ่งบริการรถลากกันล่ะครับ ส่วนทางป้องกันง่ายที่สุดก็คือ หลบเลี่ยงเส้นทางที่น้ำท่วมขังหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อาจหาถุงพลาสติกมาครอบจานจ่าย เพื่อไม่ให้น้ำเล็ดลอดเข้าไปได้
- วิ่ง ๆ อยู่รถดับ…ใจเย็น ๆ อย่าตกใจ
- กรณีนี้ก็มีให้เห็นกันบ่อย วิ่ง ๆ อยู่เครื่องยนต์เกิดดับเอาดื้อ ๆ อันดับแรกอย่าเพิ่งตกใจหรือสงสัยอะไรนะครับ คิดเสียว่าของมันเป็นกันได้ รีบเหยียบคลัทช์ค้างเอาไว้ ส่วนเกียร์อัตโนมัติให้เลื่อนมาที่ตำแหน่ง N เพื่อปลดเฟืองเกียร์ เพราะเกียร์อาจพังได้ จากนั้นค่อย ๆ เหยียบเบรก ขอเน้นนะครับว่าค่อย ๆ เหยียบ หากแกระแทกไปทีเดียวเต็ม ๆ ได้หัวทิ่มกันแน่ และอย่าลืมเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อให้สัญญาณรถคันอื่นว่าเรามีปัญหา ค่อย ๆ ควบคุมพวงมาลัยนำรถเข้าจอดหลบข้างทาง
- จอดรถสนิทแล้ว ก็ลองสตาร์ทดูอีกครั้ง ถ้าติดก็แล้วไป แต่ถ้าไม่ติด รถเกียร์ธรรมดาคงต้องหาคนมาช่วยเพื่อเข็นสตาร์ท (เข้าเกียร์แนะนำว่าให้เป็นกียร์ 2หรือ3 – เหยียบคลัทช์ –ใ ห้คนเข็น – ความเร็วพอเหมาะปล่อยคลัทช์เหยียบคันเร่ง สำหรับเกียร์อัตโนมัติใช้วิธีนี้ไม่ได้) ถ้ายังไม่ติดอีกก็ลองเดฝากระโปรงหน้าเช็คขั้วและสายไฟแบตเตอรี่ว่าแน่นหรือไม่ ขยับหัวเทียน เช็คคอยล์และจานจ่ายว่ามีน้ำขังหรือซึมหรือไม่ ลองสตาร์ใหม่ ถ้ายังไม่ติดอีก หาเบอร์โทรช่างล่ะครับทีนี้
- เครื่องร้อนจัด…โอเวอร์ฮีต
- ไม่ว่าจะเป็นเพราะหม้อน้ำพร่อง ระบบระบายอากาศรถบางรุ่นที่ไม่เหมาะสมกับเมืองไทย เมื่อเข็มอุณหภูมิบนหน้าปัดสูงผิดปกติ จนใกล้หรือเข้าขีดแดง หรือมีอาการเครื่องยนต์กำลังตก นั่นก็คือเครื่องยนต์รถของคุณกำลังร้อนจัด รีบปิดแอร์-วิทยุ เปิดกระจก ดูอาการสักพักว่าเป็นอย่างไร ความร้อนลดลงหรือไม่ แต่ถ้าร้อนจัดจนไอน้ำพุ่งออกมาจากหม้อน้ำ ทีนี้ก็ต้องชะลอรถจอดอย่างเดียว อย่าลืมปิดแอร์-วิทยุเช่นกัน เมื่อรถจอดสนิทปลดเกียร์ว่าง ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาสักครู่จึงดับเครื่อง
- อย่าเพิ่งรีบร้อนเปิดฝากระโปรงหน้า เพราะไอน้ำนั่นร้อนสุด ๆ รอให้ไอน้ำหยุดพุ่งหรือหมดไปก่อน เปิดฝากระโปรงแล้วก็อย่าเพิ่งเปิดฝาหม้อน้ำ หากรีบเปิดน้ำในหม้อน้ำพุ่งทะลักออกมาลวกได้ ต้องรอให้หม้อน้ำเย็นก่อน ซึ่งอาจใช้น้ำค่อย ๆ ราดรดหม้อน้ำก็ได้ เพื่อให้เย็นเร็ว ๆ จากนั้นก็เปิดฝาเติมหม้อน้ำ ถ้ายังไม่หายโอเวอร์ฮีตอีกก็ต้องเข้าศูนย์กันล่ะครับ หรือถ้าหายก็ควรให้ช่างตรวจเช็คหลังจากนี้เพื่อความแน่ใจ
- ส่วนกรณีเบรกแตก ก็ต้องอาศัยความใจเย็นอีกเช่นกัน ลองกระทืบเบรกซ้ำ ไม่ได้ผลให้ลดระดับเกียร์ลงมาที่ละขั้น เพื่อให้เอนจิ้นเบรก เมื่อรถชะลอแล้วค่อย ๆ ดึงเบรกมือในการช่วยหยุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)