แต่ จะมีใครสักกี่คนที่ใส่ใจกับตัวบทกฎหมายบ้านเมืองที่เขากำหนดเอาไว้ถึงขนาด กำลังไฟที่จะใช้สำหรับไฟส่องสว่างบ้างว่าเขียนเอาไว้เช่นไร แล้วชนิดของหลอดไฟที่คุณ ๆ ดิ้นรนขวงขวาย ‘โดนหลอก’ เพราะความจริงแล้วมันเป็นเพียงแค่หลอดไฟชุบสีเท่านั้นเอง เนื่องจากปัจจุบันนี้มีหลอดไฟแบบต่าง ๆ ที่คุยว่าสว่างขึ้น ใสขึ้นถูกนำออกมาจำหน่าย ด้วยคุณสมบัติสามารถนำมาเปลี่ยนแทนของเดิมได้ทันทีและมีด้วยกันหลายชนิดซึ่ง แน่นอนว่าจะต้องมีทั้งที่คุณภาพมาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน หากเลือกผิดก็เท่ากับจ่ายเงินฟรี แถมยังขับรถได้ยากขึ้นอีกด้วย เพราะแสงไฟที่ส่องออกไปจะถูกกลืนหายไปกับสิ่งต่าง ๆ ไม่สะท้อนกลับเข้าตาให้เราเห็นวัสดุต่าง ๆ เหมือนกับหลอดที่มีแสงสีเหลืองอ่อนๆ แบบนี้เรียกว่า ไม่เปลี่ยนซะยังจะดีกว่า
หลอดไฟหน้าความสว่างที่มาพร้อมกับแฟชั่นและการหลอกลวง
อะไรคือหลอดไฟ
เป็น เพราะความจำเป็นในการเดินทางเวลากลางคืนนั้นเองที่ทำให้ความต้องการแสงสว่าง สำหรับรถยนต์เกิดขึ้น ในยุคแรก ๆ ของรถยนต์ระบบส่องสว่างจะใช้ตะเกียงธรรมดา ๆ นี่แหละครับ ด้วยจุดประสงค์ส่องให้เห็นทางและก็ให้ฝ่ายอื่น มองเห็นเราด้วยเช่นกัน ต่อมารถยนต์มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้น ความเร็วสูงขึ้น ก็ต้องการไฟส่องสว่างที่ไกลขึ้น ชัดเจนมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยทั้งคนขับและคนเดินถนนแต่ทราบหรือไม่ว่าหลอดไฟหน้ารถยนต์ เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอะไร ? เฉลยว่าฝรั่งเศสครับ ในต้นศตวรรษที่ 19 หลังจากที่ “Thomas Edison” แก คิดประดิษฐ์หลอกไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา แสงสว่างจากหลอดไฟก็เพิ่มความสว่างได้มากขึ้นตลอดเวลา กระทั่งปัจจุบัน ความสว่างของแสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นชักจะเข้าใกล้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ไป ทุกทีแล้ว
หลอดไฟทั่วไปที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่ หลอดความร้อน (Incandescent Bulb) ซึ่งหลอดไฟชนิดนี้ จะทำงานได้โดยปล่อยให้กระแสไฟไปยังไส้หลอด (Filament) ซึ่ง ทำจากลวดทังสเตนเพื่อให้เกิดความร้อน เมื่อไส้หลอดเกิดความร้อนก็จะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นมา (เช่นเดียวกับที่เราเห็นจากเตาไฟฟ้าแบบขดลวดนั่นแหละครับ) และโดยปกติแล้ว ภายในหลอดชนิดนี้จะเป็นสุญญากาศ (เพื่อป้องกันการเผาไหม้จนเกิดความร้อนสูงเกิดควบคุม) หรืออาจจะบรรจุก๊าซเฉื่อยเช่น ก๊าซอาร์กอนไว้ภายในเพื่อช่วยลดคราบเขม่าที่เกิดจากโลหะทังสเตนมาจับผิวด้าน ใน สำหรับแบบที่สอง หลอดฮาโลเจน (Halogen Bulb) คือ หลอดที่ไฟถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการรักาความสว่างเอาไว้ได้จน หมดอายุการใช้งานของหลอดไฟ หลอดแบบนี้จะบรรจุด้วยก๊าซฮาโลเจนเพื่อให้เกิดวงจรฮาโลเจน (Halogen Cycle)
กล่าวคือ อนุภาคของทังสเตน (W) ที่เกิดขึ้นและเคลื่อนตัวไปใกล้หลอดแก้วจะไปรวมตัวกับก๊าซฮาโลเจน (X) และเคลื่อนตัวโดยความร้อนภายในหลอดไฟไปยังไส้หลอด เมื่ออนุภาคที่รวมตัวกันเคลื่อนตัวเข้าใกล้ใส้หลอดไฟอนุภาคของทังสเตนก็จะไป จับกับไส้หลอดหรือขาหลอดไฟ (Stem) ส่วนอนุภาคของก๊าซฮาโลเจนก็จะเคลื่อนตัวไปยังผิวของหลอดแก้วเพื่อรวมตัวกับอนุภาคของทังสเตนต่อไป เป็นวงจรอย่างนี้เรื่อย ๆ
การ ทำงานแบบนี้จะทำให้อนุภาคที่รวมตัวกันเกาะที่ผิวหลอดบ้าง แต่อนุภาคที่รวมตัวกันนี้เป็นสารกึ่งโปร่งแสงจึงส่งผลกระทบต่อความสว่างน้อย มาก การทำให้เกิดวงจรฮาโลเจนนี้จะต้องรักษาอุณหภูมิของหลอดแก้วให้คงที่ประมาณ 250 องศาเซลเซียสจึงจำเป็นต้องใช้แก้วชนิดพิเศษในการผลิตหลอดแบบนี้ นอกจากนั้น ความดันของก๊าซเฉื่อยภายในหลอดแก้วและไส้หลอดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด วงจรได้สมบูรณ์
แบบที่สาม หลอด HID ซึ่งเป็นของใหม่ล่าสุดที่กำลัง ‘ฮิต’ อยู่เวลานี้ โดยรู้จักกันในนามของหลอด “ซีนอน” (Xenon) เนื่องจากภายในบรรจุเอาไว้ด้วยก๊าซซีนอน หลอดไฟชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในรถยนต์ครั้งแรกในปี 1992 ในยุโรป หลอดชนิดนี้จะแตกต่างไปจากชนิดอื่นๆ ที่ใช้ใส้หลอดทำจากโลหะทังสเตนในการทำให้เกิดแสงสว่าง โดยหลอด HID จะทำให้เกิดแสงสว่างด้วยการผ่านกระแสไฟแรงสูง (หลอด HID จะ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มกระแสไฟ 12 โวลท์ ให้สูงขึ้นไปถึง 20,000-25,000 โวลท์) ไปยังขั้วของตัวนำที่ทำจากโลหะทังสเตนซึ่งจะทำให้เกิดการกระโดดของอิเลคตรอน ระหว่างขั้วของตัวนำ อาจจะเปรียบได้กับการกระโดดของไฟที่เขี้ยวหัวเทียนหรือการสปาร์คที่เกิดจาก การเชื่อมไฟฟ้านั่นเอง อิเล็คตรอนนี้จะทำปฏิกิริยากับก๊าซซีนอนที่ถูกบรรจุอยู่ภายในหลอดแก้วทำให้ เกิดแสงสว่างขึ้น โดยหลอด HID นี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดฮาโลเจนธรรมดา 2-2.5 เท่า แต่ในขณะเดียวกันสามารถประหยัดพลังงานมากกว่าถึง 25% และยังให้สีของแสงที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์จึงช่วยให้การมองเห็นดี ขึ้น และการที่ไม่ใช้ไส้หลอดจึงทำให้อายุการใช้งานของหลอดยาวขึ้นด้วยเช่นกัน
ไม่ละความพยายาม
ใน ยุคแรกของการเพิ่มแสงสว่างในกับไฟหน้ารถยนต์นั้น (เราจะไม่คุยถึงการติดตั้งเพิ่มเติมไฟสปอตไลท์หรือไฟตัดหมอกเพราะมันไม่ใช่ วิธีที่ควรกระทำ ไม่ใช่เพราะเป็นของไม่ดีแต่เป็นที่คนใช้งานส่วนหนึ่งโดยเฉพาะพวกขับรถแพง ๆ มักจะขาดจิตสำนึกในการใช้งานที่ดีครับ) ในยุคเมื่อสิบกว่าปีก่อนนั้น เทคโนโลยีของหลอดไฟหน้ายังไม่หลากหลายเหมือนสมัยนี้ การจะเพิ่มความสว่างให้กับไฟหน้าจึงมีเพียงแค่การเพิ่มกำลังไฟ (“w” วัตต์) ให้สูงขึ้นจากเดิมที่ติดรถมา และตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ในพรบ.รถยนต์ พศ.2522 ได้กล่าวถึงเรื่องของโคมไฟส่องสว่างหน้ารถจะต้องมีจำนวน 2 ดวงติด อยู่ข้างซ้ายขวาข้างละดวง เป็นชนิดแสงพุ่งไกลใช้ไฟแสงขาว เท่านั้นและต้องติดตั้งในระดับสูงวัดจากพื้นถึงจุดกึ่งกลางของโคมไฟไม่น้อย กว่า 60 ซม. และไม่เกิน 1.35 เมตร ส่วนโคมไฟต่ำจะใช้ข้อบังคับเดียวกันและอนุญาตให้รวมอยู่ในดวงเดียวกันก็ได้ (สำหรับโคมไฟแสงพุ่งไกลและพุ่งต่ำ การเปลี่ยนหลอดไฟให้มีสีผิดไปจากที่กำหนดถือว่ามีความผิดจะเป็นหลอดไฟที่มี กำลังไฟ 60/55 W โดยจะแบ่งเป็นสองไส้ ไฟสูงจะใช้ 60 W และไฟต่ำจะอยู่ที่ 55 W
เมื่อ ทราบกำลังไฟของหลอดที่จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้แล้วเราลองมาดู ว่า ในปัจจุบันนี้หลอดไฟที่มีใช้ในรถยนต์ จะแบ่งออกไปได้หลายรูปแบบ ซึ่งหลัก ๆ ก็จะมี แบบ “H 1” จะ มีลักษณะเป็นตัวหลอดมีเพียงไส้เดียวเท่านั้นกับขาเสียบด้านหลัง ใช้อยู่กับโคมไฟแบบแยกหลอด คือตัวโคมไฟ 1 ดวงก็จะมีเพียงหลอดเพียงไส้เดียว หลอดหรือโคมแบบนี้โดยมากจะใช้อยู่กับรถยุโรปเช่นพวกรถ BMW และพวกรถญี่ปุ่นรุ่นใหญ่ ๆ
หลอดไฟหน้าที่ได้รับความนิยมจากบริษัทผู้ผลิตมากที่สุดเห็นจะได้แก่แบบ “H 4” ซึ่ง เป็นแบบที่รถส่วนใหญ่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ จึงมีลักษณะคุ้นตาคือ ตัวหลอดจะอ้วน มีไส้หลอดเรียงตามยาว ชั้นบนจะมีฝาครอบกันไว้ด้านหนึ่ง (เจ้าฝาครอบตัวนี้ มีไว้สำหรับบังแสงไฟไม่ให้กระจายเต็มพื้นที่ในโคมไฟจึงทำให้แสงที่ผ่านโคมไฟ ออกมามีเพียงครึ่งเดียวกลายเป็นไฟต่ำนั่นเอง) ส่วนชั้นล่างมีเฉพาะขดลวดเท่านั้น ไม่มีฝาครอบ ด้านนอกมีสามขาสำหรับไฟสูง/ต่ำ และขั้วดิน (-) และล่าสุดสำหรับรถ MERCEDES-BENZ ตากลมหรือรถ BMW จะใช้หลอดไฟที่มีรหัสประจำตัวคือ “H 7” ที่มีลักษณะผสมกันระหว่าง “H 1” กับ “H 4” คือมีไส้เดียวแต่ใช้เบ้าใหญ่ เพื่อรองรับกับหลอดไฟชนิดใหม่ Xenon ซึ่งอย่างที่บอกแล้วว่าเป็นไฟแบบล่าสุดที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอีกมิติหนึ่งของวงการหลอดไฟรถยนต์ก็ไม่น่าจะ ‘เว่อร์’ ไป เพราะแสงสว่างที่ได้จากหลอดไฟชนิดนี้นับว่าคุ้มค่าเนื่องจากจะให้ความสว่าง มากกว่าหลอดฮาโลเจนถึง 2-2.5 เท่า เรียกว่าสว่างกันสะใจเลย
ไฟแฟชั่น
หลอด ไฟที่มีจำหน่ายอยู่ในบ้านเราขณะนี้มีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งเป็นการพัฒนากรรมวิธีการผลิตและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อให้หลอดไฟให้กำลังในการส่องสว่างมากขึ้น ขณะที่กินกระแสไฟเท่าเดิม ต่างจากสมัยก่อนที่หากต้องการให้ไฟสว้างขึ้นก็เปลี่ยนหลอดไฟให้มีกำลังส่อง สว่างมากขึ้น คือวัตต์สูงขึ้นซึ่งก็ทำให้กินกระแสไฟมาก ก่อนจะมาถึงยุคหลอดสีนั้นถ้าใครที่เป็นนักเดินทางยามราตรีก็คงจะได้เคยเห็น ไฟหน้ารถบางคันมีสีต่าง ๆ ประมาณว่า 7 สีประกายรุ้งกันเลย ซึ่งเหตุการณ์นี้ อยู่ในช่วงประมาณ 2-3 ปีที่แล้วนี้เองครับ ถามไปถามมาได้ความว่าเกิดจากการนำเอาแผ่นบังแสงที่เคลือบสีไว้แล้วมายึดเข้า กับขาที่สร้างให้พอดีกับเบ้าหลอดไฟ จากนั้นก็สวมเข้าไปกับโคมไฟหน้าเมื่อเราเปิดไฟ แสงจากหลอดก็จะผ่านกระจกสีเหล่านั้นจนเกิดเป็นสีต่าง ๆ ออกมาได้ตามต้องการ ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็สามารถเปลี่ยนสีของแสงไฟได้ในระดับหนึ่ง แต่การที่แสงต้องมาผ่านกระจกอีกชั้นหนึ่งเช่นนี้ทำให้ความสว่างของแสงลดน้อย ถอยลง ทั้งการถอดเปลี่ยนก็ทำได้ยาก กาลต่อมาหลอดเคลือบสีจึงตามมาทันที นี่ยังไม่นับรวมถึงการเปลี่ยนสีของแสงไฟด้วยการเคลือบโคมไฟด้วยพลาสติคสีฟ้า และดูเหมือนจะกลายเป็นแฟชั่นไปแล้วสำหรับการเปลี่ยนหลอดไฟซึ่งมีการผลิตเป็น สีต่าง ๆ ออกมาขาย เช่น สีเหลือง สีฟ้า สีเขียว สีส้ม ซึ่งจะว่ากันตามตรงแล้ว ไฟสีต่าง ๆ ที่เขาผลิตขึ้นมานั้น จุดประสงค์ในการใช้งานคงต้องขึ้นอยู่กับสภาพของอากาศที่ใช้ด้วย จากที่ทางผู้ผลิตแจ้งมา เช่น สีเหลือง เหมาะกับการใช้งานในขณะหมอกจัดหรือฝนตก สีส้มต้องหมอกจัดมาก ๆ ส่วนสีฟ้ากับสีเขียวนั้นไม่ค่อยเกิดประโยชน์เท่าไร และกับสภาพการใช้งานในบ้านเราก็ไม่ค่อยมีปัญหากับเรื่องสภาพอากาศดังกล่าว และหลอดสีนี้ควรจะเปลี่ยนในโคมไฟพิเศษไว้ใช้ในสภาพอากาศที่ไม่ดีหรือในคราว จำเป็นเช่น การวิ่งในสภาพทางอ๊อฟโร้ด เพราะหากเปลี่ยนในโคมไฟหน้านะเป็นการผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พศ.2522
ใน ส่วนของโคมไฟส่องสว่างหน้ารถอย่างที่เสนอไว้ในตอนต้น การเปลี่ยนหลอดไฟที่มีสีผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดจึงมีความผิด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรก็ได้กวดขันตั้งจุดตรวจจับกันอยู่เสมอ ๆ ขณะนี้เพื่อให้รถที่ติดตั้งสัญญาณไฟผิดไปจากกฎหมายกำหนดไปปรับเปลี่ยนแก้ไข ให้ถูกต้อง ดังนั้น ก่อนเปลี่ยนหรือดัดแปลงควรคำนึงถึงเรื่องความถูกต้องซะก่อนก็จะเป็นการดี ส่วนความเท่ความสวยค่อยทำในส่วนที่ไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของกฎหมายซึ่ง มีให้ทำได้อีกตั้งหลายอย่างและไฟสีอื่น ๆ คงจะให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเท่ากับแสงขาวในการใช้งานสภาพอากาศปกติ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ด้วย
การ เปลี่ยนหลอดไฟทุกวันนี้หายากที่จะคิดถึงประโยชน์การใช้งานจริง ๆ เพราะผู้ใช้รถ (ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยแรกรุ่น มีวัยเลยรุ่นติดมาบ้างนิดหน่อย) ต่างคิดเปลี่ยนเพื่อความเท่ เพื่อความทันสมัยทำให้น่าเสียดายประโยชน์ที่ถูกมองข้ามไป ในขณะที่ผู้ใช้บางคนกลับลืมนึกถึงว่ารถตัวเองนั้นไฟหน้ามันหรี่มัวซัวมา นมนานแล้ว ด้วยความที่ใช้รถอยู่แต่ในกทม. เมืองที่กลางคืนสว่างหมือนกลางวันแบบนี้ความจำเป็นก็เลยถูกมองข้าม แต่อยากจะขอเตือน ๆ กันเอาไว้หน่อยสำหรับการเลือกใช้ไฟหน้ารถ ใครที่ชอบความสว่างสดใส ก็ขออย่าให้ถึงกับไปรบกวนสายตาของผู้ขับรถคันอื่น ๆ ส่วนใครที่ยังตาหรี่ ก็อยากจะรอร้องให้เปลี่ยนหลอดใหม่จะได้มองเห็นข้างหน้าได้อย่างชัดเจน ช่วยลดอุบัติเหตุลงได้อีกมาก และที่สำคัญ รถคันอื่นเขาก็จะสามารถมองเห็นคุณได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น